ข้อมูลรายจังหวัด/นคร

เกียนซาง

kien giang

เกียนซาง

ข้อมูลจังหวัดโดยสังเขป

  • จังหวัดเกียนซางเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีผลผลิตข้าวมากที่สุดของประเทศเวียดนามประมาณปีละกว่า 4 ล้านตัน
  • เมืองห่าเตียน จังหวัดเกียนซาง (Ha Tien City, Kien Giang Province) เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายย่อยเลียบชายฝั่งตอนใต้ของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Southern Coastal Sub-Corridor) หรือเส้นทาง R10 ซึ่งเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร, จังหวัดพระ-สีหนุ ประเทศกัมพูชา, เมืองห่าเตียน จังหวัดเกียนยาง และไปสิ้นสุดที่เมืองนัมกัน จังหวัดก่าเมาของประเทศเวียดนาม
  • เกาะฟู้ก๊วก เป็นหนึ่งในพื้นที่ในแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับเกาะสิงคโปร์ รัฐบาลเวียดนามให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก
  • จังหวัดเกียนซางได้ร่วมลงนามสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรกับจังหวัดจันทบุรีมาตั้งแต่ปี 2548 และอยู่ในระหว่างดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรกับจังหวัดตราดตั้งแต่ปี 2560 (มท. 1 อนุมัติแล้ว)

ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดเกียนซาง 

1.1 ข้อมูลที่ตั้ง การปกครอง

จังหวัดเกียนซาง เป็น 1 ใน 13 จังหวัดบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง หรือภาคตะวันตกของประเทศเวียดนาม ได้สถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรกับจังหวัดจันทบุรีมาตั้งแต่ปี 2548 และอยู่ในระหว่างดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรกับจังหวัดตราดตั้งแต่ปี 2560 (มท. 1 อนุมัติแล้ว)

จังหวัดเกียนซางอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ 250 กิโลเมตร  นครเกิ่นเทอ 115 กิโลเมตร ห่างจากกรุงพนมเปญ 165 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดตราดประมาณ 390 กิโลเมตร (ห่างจากเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจตะวันออก หรือ EEC ประมาณ 550 กิโลเมตร) โดยมีอาณาเขตด้านทิศเหนือ ติดกับจังหวัดกำปอต ประเทศกัมพูชา โดยผ่านด่านชายแดน Prek Chak เข้าสู่ประเทศเวียดนามทางด่านชายแดนนานาชาติห่าเตียน (Ha Tien International Border Gate)  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดจังหวัดอานซาง (An Giang Province) และนครเกิ่นเทอ (Can Tho City) ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดจังหวัดบากเลียว (Bac Lieu Province) และทางทิศใต้ ติดจังหวัดก่าเมา (Ca Mau Province) และทิศตะวันตก ติดอ่าวไทย มีชายฝั่งยาวกว่า 200 กิโลเมตร และเกาะน้อยใหญ่อีก 145 เกาะ มีเกาะฟู้ก๊วก (Phu Quoc Island) เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม โดยมีขนาดเทียบเท่าประเทศสิงคโปร์

รูปที่ 1: แผนที่จังหวัดเกียนซาง

ที่มา: Google Map (2565)

เกียนซางมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเหิ่ว (Hau River) ซึ่งแยกออกมาจากแม่น้ำโขง เป็นแหล่งน้ำจืดหลัก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของจังหวัดประมาณ 27 องศาเซลเซียส โดยฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปี ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 2,000 – 2,400 มิลลิเมตร

จังหวัดเกียนซางมีพื้นที่ทั้งหมด 6,348.8 ตารางกิโลเมตร แบ่งพื้นที่การปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น 15 พื้นที่ ประกอบไปด้วยเมือง Rach Gia เป็นศูนย์กลางราชการส่วนท้องถิ่น, เมืองห่าเตียนเป็นเมืองการค้าชายแดน เมืองฟู้ก๊วกเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และตำบลอื่นๆ อีก 12 ตำบล

ปี 2564 เกียนซางได้รับการจัดอันดับ 60 จาก 63 จังหวัดในด้านความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ (PCI) ขณะที่การจัดอันดับเกี่ยวกับความสามารถในการบริหารจัดการภาครัฐ (PAPI) ถือว่ามีคุณภาพปานกลางเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นของเวียดนาม

 

1.2 ทรัพยากร

1.2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ

จังหวัดเกียนซางมีที่ดินทั้งหมด 634,878 เฮกตาร์ โดยพื้นที่ร้อยละ 73 ได้รับการจัดสรรเพื่อการเกษตร พื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 11 พื้นที่เพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร้อยละ 6 และพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบธุรกิจอีกร้อยละ 10

เกียนซางเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีอุทยานแห่งชาติป่าชายเลน U Minh Thuong และอุทยานแห่งชาติเกาะ-ฟู้ก๊วก ซึ่งมีพันธุ์พืชและสัตว์หายากจำนวนมาก ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโก้ เป็นเขตชีวมณฑลที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2549 ด้วยพื้นที่กว่า 1.1 ล้านเฮกตาร์ ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติ U Minh Thuong ยังเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks) ปี 2555 และยังเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการอนุรักษ์ตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ปี 2559

อาณาเขตทางทะเลของจังหวัดกว้างถึง 63,290 ตารางกิโลเมตร ชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำได้มากกว่า 500,000 ตันต่อปี ซึ่งมีสัตว์ทะเลหายากหลายชนิด เช่น เต่าทะเล ปลิงทะเล หอยมุก เป็นต้น นอกจากนี้เกียนซางยังมีชายหาดสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักตากอากาศ

เกียนซางมีหินปูนสำรองปริมาณมากที่สุดในเวียดนามใต้ประมาณ 440 ล้านตัน หินก่อสร้าง 120 ล้านตัน ถ่านหิน ทราย และดินเหนียวเหมาะแก่การพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง

1.2.2 ทรัพยากรมนุษย์และวัฒนธรรม

ปี 2564 จังหวัดเกียนซางมีประชากรทั้งหมด 1.7 ล้านคน คิดเป็นแรงงานที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป 1.1 ล้านคน มีมหาวิทยาลัย 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกียนซาง และวิทยาลัยอาชีวะอีก 5 แห่งฝึกอบรมแรงงานในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง ค่าแรงขั้นต่ำ 3.25 – 4.16 ล้านด่งต่อเดือน (139 – 178 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน) ตามพื้นที่จ้างแรงงาน (Decree No.38/2022/NĐ-CP)

1.3 โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่ง

ด้านการคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเกียนซาง มีสนามบิน 2 แห่ง ได้แก่ สนามบิน Rach Gia (Rach Gia Airport : VKG) เป็นสนามบินภายในประเทศ และสนามบินนานาชาติฟู้ก๊วก (Phu Quoc International Airport : PQC) ที่มีเที่ยวบินจากประเทศและเขตการปกครองต่าง ๆ ได้แก่ ไทย อินเดีย เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง และมาเลเซีย เปิดดำเนินการ ส่วนเที่ยวบินตรงภายในประเทศจากกรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ นครไฮฟอง นครดานัง เมืองวิญ (จังหวัดเหงะอาน) จังหวัดทันฮว้า (Thanh Hoa Province) และจากเมืองดาลัท (จังหวัดเลิมด่ง)

ด้านการคมนาคมทางน้ำ จังหวัดเกียนซางมีท่าเรือทั้งหมด 7 แห่ง ที่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างตัวเมือง เกาะฟู้ก๊วก และพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัด ได้แก่ ท่าเรือ Duong Dong, An Thoi, Hon Chong, Nam Du, Rach Gia และ Bai Vong ทั้งนี้ท่าเรือ An Thoi เป็นท่าเทียบเรือหลักของจังหวัดรองรับเรือขนาด 1,000 – 30,000 ตัน

ด้านการคมนาคมทางบกและการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค เกียนซางค่อนข้างครอบคลุมทุกพื้นที่ มีระบบถนนหลวง 5 สาย ได้แก่ QL61, QL63, QL80, QLN1 และ QLN2 โดยมีถนนหลวง QL 80 เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง R10 ที่เชื่อมจากกรุงเทพมหานคร ผ่านด่านชายแดนนานาชาติห่าเตียน จนถึงอำเภอนามกัน จังหวัดก่าเมา

รูปที่ 2: เส้นทางการเดินรถจากกรุงเทพ ถึงเมืองห่าเตียน ประเทศเวียดนาม

ที่มา: Google Map (2563)

ด้านเขตเศรษฐกิจและนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดเกียนซาง มีเขตอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้วทั้งหมด 2 แห่งจาก 5 แห่งที่ได้รับการอนุมัติ และพื้นที่การค้าชายแดนอีก 1 แห่ง ได้แก่

  1. นิคมอุตสาหกรรม Thanh Loc พื้นที่ 250 เฮกตาร์
  2. นิคมอุตสาหกรรม Thuan Yen พื้นที่ 140.74 เฮกตาร์
  3. เขตการค้าชายแดนด่านตรวจคนเข้าเมืองนานาชาติ Ha Tien ซึ่ง ได้รับการก่อตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2563 (Decision No. 21/2020/QD-TTg) มีพื้นที่ 1,600 เฮกตาร์ โดยภายในเขตเศรษฐกิจชายแดน จะมีพื้นที่ปลอดภาษี พื้นที่อุตสาหกรรม สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และโอกาสในการลงทุนทำธุรกิจ

2.1 สถานการณ์เศรษฐกิจ

ปี 2564 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GDP) คิดเป็นมูลค่า 101,887.6 พันล้านด่ง (4.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 3 แบ่งออกเป็นภาคการเกษตรร้อยละ 32 ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างร้อยละ 22 และภาคการค้าและบริการร้อยละ 43 (ภาษีสินค้าร้อยละ 4)

ด้านการเกษตร ป่าไม้และการประมง ในปี 2564 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากปีก่อนหน้าจังหวัดเกียนซางปลูกข้าวมากที่สุดของประเทศเวียดนามคิดเป็น 4.51 ล้านตัน บนพื้นที่ 715,701 เฮกตาร์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการเกษตรจากปลูกข้าวตลอดปีเป็นการปลูกข้าวสลับกับการเลี้ยงปลา หรือเลี้ยงกุ้ง นอกจากนี้ยังมีการปลูกสับปะรด พริกไทย และกล้วยด้วย

ด้านการปศุสัตว์ จังหวัดผลิตรังนกนางแอ่นได้มากที่สุดในประเทศเวียดนาม โดยมีผลผลิต 17,600 กิโลกรัม นอกจากนี้มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ กระบือ โค สุกร และสัตว์ปีก แต่มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นของเวียดนาม โดยมีโคกระบือรวมกัน 14,545 ตัว สุกร 0.19 ล้านตัว สัตว์ปีก 3.5 ล้านตัว

การประมงของจังหวัดปี 2564 ส่วนใหญ่มาจากการประมงและการเพาะเลี้ยงด้วยอัตราส่วนอย่างละครึ่ง คิดรวมทั้งหมด 854,330 ตัน ได้ผลผลิตประเภทปลา 521,223 ตัน  กุ้ง 137,346 ตัน  หมึก 70,764 ตัน และอื่นๆ เช่น ปู หอยชนิดต่างๆ อีก 124,797 ตัน

ด้านอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ในปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีก่อนหน้า สินค้าอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ซีเมนต์ อิฐชนิดแข็ง (Clinker) ข้าวขัดสี ปลากระป๋อง น้ำปลา อาหารทะเลแช่แข็ง เครื่องดื่ม เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมน้ำปลาฟู้ก๊วกเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และได้รับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นอันดับแรกของเวียดนามมาตั้งแต่ปี 2544

ด้านบริการและการค้า เป็นส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด ปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยมาจากการค้าปลีกเป็นหลัก เกาะฟู้ก๊วกเป็นหนึ่งในพื้นที่แรกที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหยุดชะงักมาตั้งแต่ปี 2563 โดยข้อมูลตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 1.4 ล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 46,200 คน มีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 2,840 พันล้านด่ง (121.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ปัจจุบันฟู๊ก๊วกมีสถานที่พักแรมกว่า 700 แห่ง มีจำนวนห้องพักกว่า 24,000 ห้อง นอกจากนี้เกาะฟู้ก๊วกมีความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจระดับจังหวัดและภูมิภาค เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 1 ใน 3 แห่งของเวียดนามที่ให้สิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงมีกฎหมายพิเศษ เช่น อนุญาตให้เปิดบ่อนคาสิโน ให้ฟรีวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นต้น

ตามแผนยุทธศาสตร์ปี 2564 – 2568 ตั้งเป้าให้เกาะฟู้ก๊วกได้รับการยกระดับเป็นเมืองขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบริการคุณภาพสูงของเวียดนามในปีภายในปี 2568 จากข้อมูลปี 2565 เกาะฟู้ก๊วกดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศทั้งหมด 284 โครงการ มูลค่ากว่า 352,191 พันล้านด่ง (15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

 

2.2 ข้อมูลการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ปี 2564 จังหวัดเกียนซาง มีมูลค่านำเข้าสินค้า และมูลค่าส่งออกสินค้า คิดเป็น 168 และ 735 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

มูลค่าลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสะสมจนถึงปี 2564 ทั้งหมด 62 โครงการ คิดเป็น 4,808.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 มีโครงการลงทุนใหม่จากต่างประเทศเป็นมูลค่า 6.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลจนถึงปี 2565 ธุรกิจไทยมีการลงทุนในจังหวัดเกียนยางคิดเป็นมูลค่า 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่

ลำดับ ชื่อธุรกิจ ประเภทธุรกิจ
1 บริษัท C.P. Vietnam จำกัด ฟาร์มเพาะพันธุ์ลูกกุ้ง
2 บริษัท MM Mega Market Rach Gia จำกัด ศูนย์การค้าปลีกและค้าส่ง MM Mega Mall
3 บริษัท Holcim Vietnam จำกัด ผลิตและจัดจำหน่ายปูนซีเมนต์ตราอินทรีย์
4 บริษัท Che Bien Thuc Pham Viet – Thai จำกัด ผลิตสับปะรดกระป๋องและน้ำมะพร้าวเข้มข้นเพื่อการส่งออก
5 บริษัท Surat Kien Giang จำกัด

(3 โครงการลงทุน)

การประมง
6 เครือโรงแรมดุสิตธานี (Dusit Moonrise Princess) เกาะฟู้ก๊วก จ้างบริหารโดยเครือดุสิตธานี ประเทศไทย

 

2.3 อุตสาหกรรมที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการลงทุน

  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  • อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนอกชายฝั่ง เลี้ยงกุ้งระบบปิด เลี้ยงกุ้งอุตสาหกรรม
  • อุตสาหกรรมการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมปลูกข้าวผสมกับการเลี้ยงกุ้ง ปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เลี้ยงนกนางแอ่น
  • อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น แปรรูปสัปปะรด แปรรูอาหารทะเล อาหารทะเลสำเร็จรูป
  • อุตสาหกรรมผลิตและแปรรูป เช่น โรงงานไฟฟ้าจากแก๊สธรรมชาติ ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า
  • โครงสร้างพื้นฐาน เช่น นิคมอุตสาหกรรม โรงงานจัดการน้ำเสียและขยะ

แหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ควรทราบ

1. เว็บไซต์ของรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดเกียนยาง: http://kiengiang.gov.vn/

2. รายชื่อโครงการลงทุน (ปี 2564 – 256) https://kiengiang.gov.vn/Lists/TinTuc/Attachments/25475/Danh%20muc%20du%20an%20Kien%20Giang.pdf

3. เว็บไซต์รวบรวมสินค้าการเกษตรของจังหวัด: http://hoptacxakiengiang.vn/

4. เว็บไซต์ศูนย์ส่งเสริมการลงทุน การค้า และการท่องเที่ยวของจังหวัด: http://kitra.com.vn/

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กรมส่งเสริมการลงทุน (2563), ฐานข้อมูลการลงทุนเวียดนาม (จังหวัดเกียนซาง), สืบค้นจาก http://ipc.mpi.gov.vn/mien-nam/thong-tin-dia-phuong

สภาประชาชนจังหวัดเกียนซาง (2565), ข้อมูลสถิติพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดเกียนซาง ประจำปี 2564

สภาประชาชนจังหวัดเกียนซาง (2562), Decision No.101/2019/QD-UBND เกี่ยวกับบัญชีสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญของจังหวัดเกียนซาง

กรมศุลกากรเวียดนาม (2565), รายงานการนำเข้าส่งออกจำแนกตามจังหวัด ปี 2021

Cục sở hữu trí tuệ (2565), Danh sách các chỉ đẫn địa lý đã được bảo hộ tại Việt Nam (Cập nhật đến tháng 6 năm 2022), retrieved from https://ipvietnam.gov.vn/chi-dan-dia-ly

Chính phủ Việt Nam (2565), Nghị định 38/2022/NĐ-CP về việc Quy định mức lương tối thiểu đối với người lao động làm việc theo hợp đồng lao động.

Thủ tướng Chính Phủ Việt Nam (2563), Quyết định số 21/2020/QĐ-TTg về việc thành lập Khu kinh tế cửa khẩu Hà Tiên thuộc tỉnh Kiên Giang.

UBND Kiên Giang (2563), Phát triển toàn diện kinh tế biển: Bài cuối – Xây dựng Phú Quốc thành trung tâm dịch vụ, du lịch tầm quốc tế, retrieved from https://kiengiang.gov.vn/trang/TinTuc/18/23237/Phat-trien-toan-dien-kinh-te-bien–Bai-cuoi—Xay-dung-Phu-Quoc-thanh-trung-tam-dich-vu–du-lich-tam-quoc-te.html

Sở Du lịch Kiên Giang (2562), Khách du lịch đến Kiên Giang tháng 12/2019, retrieved from https://sdl.kiengiang.gov.vn/Trang/TinTuc/ChiTiet.aspx?nid=925&chuyenmuc=116

Báo Quốc tế (2559), U Minh Thượng trở thành Khu Ramsar thứ 2.228 của thế giới, retrieved from https://baoquocte.vn/u-minh-thuong-tro-thanh-khu-ramsar-thu-2228-cua-the-gioi-27458.html

UBND Kiên Giang (2564), Kiên Giang tiềm năng và cơ hội đầu tư, Retrieved from https://kiengiang.gov.vn/trang/TinTuc/57/25475/Kien-Giang-tiem-nang-va-co-hoi-dau-tu.html

Báo Tin Tức (2564), Thu hút đầu tư phát triển Khu kinh tế cửa khẩu Hà Tiên, Retrieved from https://baotintuc.vn/kinh-te/thu-hut-dau-tu-phat-trien-khu-kinh-te-cua-khau-ha-tien-20211125090757859.htm

B News (2565), Trong tháng 6, lượng khách du lịch đến Phú Quốc tăng đột biến, Retrieved from https://bnews.vn/trong-thang-6-luong-khach-du-lich-den-phu-quoc-tang-dot-bien/249063.html

B News (2565), Duyệt Nhiệm vụ Quy hoạch chung thành phố Phú Quốc đến năm 2040, Retrieved from https://bnews.vn/duyet-nhiem-vu-quy-hoach-chung-thanh-pho-phu-quoc-den-nam-2040/248709.html

B News (2565), Phú Quốc sẽ là thành phố du lịch biển đảo quốc gia và quốc tế, Retrieved from https://bnews.vn/phu-quoc-se-la-thanh-pho-du-lich-bien-dao-quoc-gia-va-quoc-te/226650.html

Kinh tế và Đô thị (2565), Tăng cường hợp tác đầu tư Thái Lan – Kiên Giang, Retrieved from https://kinhtedothi.vn/tang-cuong-hop-tac-dau-tu-thai-lan-kien-giang.html

THAIBIZ VIETNAM

THAILAND BUSINESS INFORMATION CENTER

ยอดผู้เข้าชม

163

กำลังเข้าชมขณะนี้

285221

เข้าชมทั้งหมด