ข้อมูลรายจังหวัด/นคร

นครโฮจิมินห์

ho chi minh

นครโฮจิมินห์

ข้อมูลนครโฮจิมินห์โดยสังเขป

  • นครโฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม โดยมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมท้องถิ่น (GDRP) สูงที่สุดของเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 16ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติทั้งประเทศ มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) สะสมและมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงที่สุดในเวียดนาม
  • นครโฮจิมินห์เป็นหนึ่งในเมืองที่การเจริญเติบโตเร็วที่สุดในโลก ปัจจุบันมีประชากรกว่า 9.16 ล้านคน และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียนร่วมกับอีก 26 เมืองของประเทศอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network :ASCN)
  • นครโฮจิมินห์เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายใต้ของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงส่วนกลาง (Central subcorridor) หรือเส้นทาง R1 ซึ่งเริ่มต้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา นครโฮจิมินห์และสิ้นสุดที่จังหวัดบะเสี่ยะ – หวุงเต่าของประเทศเวียดนาม
  • นครโฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจ Startup และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงกำลังพัฒนาเมืองนวัตกรรม เมืองอัฉริยะและศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคภายใต้ชื่อ เมืองถูดึ๊ก (Thu Duc City)

นครโฮจิมินห์หรือชื่อเดิมคือ “ไซ่ง่อน” เป็น 1 ใน 5 นครที่สำคัญของเวียดนามมีประวัติศาสตร์การพัฒนามากว่า 300 ปี ช่วงที่ฝรั่งเศสปกครองประเทศเวียดนาม เมืองไซ่ง่อนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นศูนย์กลางการปกครองสหภาพอินโดจีนระหว่างปี 2430 ถึง 2444 ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไข่มุกแห่งอินโดจีน” และหลังจากเวียดนามรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “นครโฮจิมินห์”

ปัจจุบันนครโฮจิมินห์เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม และมีแผนจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านการเงินอันดับต้นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันนครโฮจิมินห์ยังได้รับการคัดเลือกเข้าจัดอันดับศูนย์กลางด้านการเงินของโลก โดย  Global Financial Centres Index เมื่อปี 2564

นครโฮจิมินห์มีอาณาเขตทางด้านทิศเหนือติดจังหวัดบิ่นเซือง (Binh Duong Province) ด้านทิศตะวันออกติดจังหวัดด่งนาย (Dong Nai Province) และจังหวัดบะเสี่ยะ – หวุงเต่า (Ba Ria – Vung Tau Province) ด้านทิศใต้เป็นทางออกสู่ทะเลจีนใต้ และด้านทิศตะวันออกติดจังหวัดเตี่ยนซาง (Tien Giang Province), จังหวัดล็องอาน (Long An Province) และจังหวัดเต็ยนิญ (Tay Ninh Province)

รูปที่ 1 แผนที่นครโฮจิมินห์

ที่มา: http://gis.chinhphu.vn/(2563)

ภูมิประเทศของนครโฮจิมินห์เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำและคลองอีกหลายสายไหลผ่านพื้นที่ โดยแม่น้ำไซ่ง่อน – ด่งนาย (Saigon – Dong Nai River) เป็นแม่น้ำสายสำคัญทั้งในด้านการอุปโภคบริโภคและเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าทางน้ำ นครโฮจิมินห์มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 28 – 33 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อนอาจจะมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายนมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี

นครโฮจิมินห์มีพื้นที่ทั้งหมด 2,095 ตารางกิโลเมตร แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 24 พื้นที่ ได้แก่ 19 เขตและอีก 5 อำเภอ สามารถแบ่งออกเป็นเขตใจกลางเมืองเดิม และเขตเมืองใหม่ โดยเขตเมืองที่มีอยู่แล้ว 13 เขต ได้แก่ เขต 1, 3, 4, 5, 6, 8, 10, 11, เขตบิ่ญถั่น (Binh Thanh District), เขตฟู้หญ่วน (Phu Nhuan District), เขตก่อเวิ้บ (Go Vap District), เขตเตินบิ่ญ (Tan Binh District) และเขตเตินฟู้ (Tan Phu District) และเขตเมืองใหม่ ได้แก่ เขต 2, 7, 9, 12, เขตถูดึ๊ก (Thu Duc District), เขตบิ่ญเติน (Binh Tan District), อำเภอฮ้อบโมน (Hoc Mon District) และอำเภอหญ่าแบ่ (Nha Be District) โดยข้อมูลแต่ละเขต/อำเภอโดยสังเขป ได้แก่

  • เขต 1 เป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองส่วนท้องถิ่น ย่านธุรกิจการค้า และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
  • เขต 3, เขตบิ่ญถั่น (Binh Thanh District), เขต 4, เขต 10 และเขตฟู้หญ่วน (Phu Nhuan District) เป็นเขตที่ติดกับเขต 1 โดยเป็นที่ทำการธุรกิจต่าง ๆ และเป็นเขตที่อยู่อาศัย
  • เขต 5 และเขต 6 เป็นเขตที่มีชาวเวียดนามเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มาก เดิมเคยเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เจอะเลิ้น (Cho Lon)
  • เขตเตินบิ่ญ (Tan Binh District) และเขตเตินฟู้เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติเตินเซิน เญิ้ต (Tan Son Nhat International Airpot: SGN) ซึ่งเป็นสนามบินที่ทันสมัยและมีผู้เดินทางมากที่สุดแห่งหนึ่งในเวียดนาม และเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บ ประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของเวียดนาม
  • เขต 2, เขต 9 และเขตถูดึ๊ก (Thu Duc District) เป็นย่านเมืองใหม่ด้านทิศตะวันออกของนครโฮจิมินห์ซึ่งได้รับการอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีเวียดนาม จัดตั้งเป็นเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองถูดึ๊ก” (Thu Duc City) ขึ้นตรงกับนครโฮจิมินห์เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2563 ที่ผ่านมา โดยรวม 3 เขตไว้ด้วยกัน มีเป้าหมายให้เป็นเมืองด้านการบริการคุณภาพสูงและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเป็นพื้นที่ที่มีระดับการศึกษา วิจัยและพัฒนาสูงที่สุดในประเทศเวียดนาม และเป็นศูนย์กลางด้านการเงินระดับสากล ปัจจุบันเขต 2 มีท่าเรือนานาชาติก๊าตล้าย (Cat Lai Port) เป็นท่าเรือขนาดใหญ่และมีปริมาณการค้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ นอกจากนี้ บริเวณดังกล่าว กำลังก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยจำนวนมาก นิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงในเขต 9 และเมืองการศึกษาในเขตถูดึ๊ก ซึ่งมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งสาธารณะจากเขต 1 จนถึงเมืองถูดึ๊ก ได้แก่ ระบบรถโดยสารประจำทาง เรือโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้าหมายเลข 1 เบ๊นถั่น – ซุ้ยเตียน (Ben Thanh – Suoi Tien Route) ที่กำลังก่อสร้างและมีแผนเปิดใช้งานปี 2564
  • เขต 7 เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเตินถ่วน ซึ่งเป็นนิคม แห่งแรกของนครโฮจิมินห์ มีพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาโดยชาวไต้หวัน ปัจจุบัน แขวงฟู้หมีฮึง (Phu My Hung subdistrict) เป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติมากที่สุดในนครโฮจิมินห์ เนื่องจากมีชาวเกาหลีอยู่เป็นจำนวนมากจึงมีร้านอาหารและบริการต่าง ๆ ของชาวเกาหลี ซึ่งจากแผนการพัฒนาเมืองบริวารจะมีการรวมเขต 7, อำเภอหญ่าแบ่ และบางส่วนของเขต 8 เพื่อพัฒนาเป็นเมืองบริวารด้านทิศใต้ โดยจะเน้นการพัฒนาบริการท่าเรือและบริการด้านการค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • เขต 8 (บางส่วน), เขตบิ่ญเติน และอำเภอบิ่นจั๊ญ เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากและเป็นเส้นทางสู่จังหวัดต่าง ๆ บนที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งมีแผนพัฒนาเป็นเมืองบริวารด้านตะวันตก และเป็นจุดเชื่อมโยงสู่จังหวัดต่าง ๆ บนที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของเวียดนาม
  • เขต 12, อำเภอกู๋จี และอำเภอฮ้อบโมน ปัจจุบันเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ของนครโฮจิมินห์ โดยมีแผนพัฒนาให้เป็นเมืองด้านทิศเหนือซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและศูนย์วิจัยด้านการเกษตร
  • เขตเกิ่นเซ่อ (Can Gio District) คิดเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมดของนครโฮจิมินห์ เป็นพื้นที่ป่าชุ่มน้ำที่ได้รับรองเป็นเขตชีวมณฑลของโลกโดยองค์การยูเนสโก้เมื่อปี 2543 และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของนครโฮจิมินห์

ปี 2564 นครโฮจิมินห์ได้รับการจัดอันดับ 14 จาก 63 จังหวัดในด้านความสามารถในแข่งขันระดับประเทศ (PCI) ขณะที่การจัดอันดับเกี่ยวกับความสามารถในการบริหารจัดการภาครัฐ (PAPI) ถือว่ามีคุณภาพดีเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นของเวียดนาม ซึ่งนครโฮจิมินห์มีแผนยุทธศาสตร์มุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะในปี 2573 โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการบริการภาครัฐทุกระดับ ใช้ข้อมูลในการพัฒนาเมือง ยกระดับอินเตอร์เน็ต 5 จี และส่งเสริมให้ประชาชนชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยปี 2564 นครโฮจิมินห์มีมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลร้อยละ 15 – 20 ของมูลค่

 

1.2 ทรัพยากร

1.2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ

นครโฮจิมินห์มีพื้นที่ทั้งหมด 209,500 เฮกตาร์เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรร้อยละ 31 พื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 17 และพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประกอบธุรกิจอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 31 ทั้งนี้นครโฮจิมินห์เป็นเมืองที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนานจึงมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย พื้นที่ประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม  อย่างไรก็ตามในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา นครโฮจิมินห์ประสบปัญหาด้านการจราจร น้ำเสีย น้ำท่วม รวมถึงมลพิษทางอากาศเช่นเดียวกับเมืองอีกหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ

1.2.2 ทรัพยากรมนุษย์

ปี 2564 นครโฮจิมินห์มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ทั้งหมด 9.16 ล้านคน โดยแรงงานที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป 4.76 ล้านคน นครโฮจิมินห์เป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางด้านการศึกษาของประเทศเวียดนาม โดยมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษากว่า 60 แห่ง และวิทยาลัยอาชีวะอีก 42 แห่ง โดยมีทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาจากการลงทุนของต่างประเทศทำให้นครโฮจิมินห์มีแรงงานฝีมือจำนวนมาก โดยแรงงานมีค่าแรงพื้นฐานอยู่ที่ 4.16 – 4.68 ล้านด่งต่อเดือนขึ้นอยู่กับพื้นที่ (Decree No.38/2022/NĐ-CP)

 

1.3 โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่ง

ด้านการขนส่งทางอากาศ นครโฮจิมินห์มี มีสนามบินนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Tan Son Nhat International Airport: SGN) ที่มีเที่ยวบินตรงจากประเทศต่าง ๆ ครอบคลุมเกือบทุกทวีปทั่วโลก โดยในสถานการณ์ปกติมีเที่ยวบินจากกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุดรธานี และภูเก็ต และมีเที่ยวบินตรงจากเมืองสำคัญของเวียดนามทุกจังหวัดและนคร

ด้านการขนส่งทางน้ำ นครโฮจิมินห์มีพื้นที่ติดทะเล มีแม่น้ำและลำคลองตลอดพื้นที่จึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของเวียดนามใต้ โดยมีท่าเรือน้ำลึกและท่าเรือขนส่งสินค้าจำนวนมากถึง 42 แห่งเพื่อขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและภายในประเทศ ต่อเรือและซ่อมบำรุงเรือ โดยมีท่าเรือที่สำคัญ ได้แก่

  1. ท่าเรือเตินถ่วน (Tan Thuan Port) ตั้งอยู่ที่เขต 7 สามารถรองรับเรือขนาด 58,000 ตัน
  2. ท่าเรือนานาชาติก๊าตล้าย (Cat Lai International Port) ตั้งอยู่ที่บริเวณเขต 2 ของนครโฮจิมินห์ สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาด 40,000 ตัน
  3. ท่าเรือนานาชาติเหียบเฟื้อก (Hiep Phuoc International Port) ตั้งอยู่ที่อำเภอหญ่าแบ่ ใกล้กับเขต 7 สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาด 50,000 ตัน
  4. ท่าเรือคอนเทนเนอร์กลางไซ่ง่อน (Sai Gon Central Container Terminal, SPCT) ตั้งอยู่บริเวณอำเภอหญ่าแบ่ สามารถรองเรือขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาด 50,000 ตัน
  5. ท่าเรือคอนเทนเนอร์นนานาชาติ SP-ITC (SP-ITC International Container Terminal) ตั้งอยู่ที่เขต 9 รองรับเรือคอนเทนเนอร์ขนาดไม่เกิน 35,000 ตัน
  6. ท่าเรือหญ่าหล่องคั้นโห่ย (Nha Rong Khanh Hoi Port) เป็นท่าเทียบเรือสำราญเพื่อการท่องเที่ยวขนาดไม่เกิน 30,000 ตัน
  7. ท่าเรือบัดดั่ง (Bach Dang pier) ตั้งอยู่ที่เขต 1 เป็นท่าเรือเร็วไปยังจังหวัดบะเสี่ยะ – หวุงเต่า และเรือท่องเที่ยว

 

ด้านการขนส่งทางบกและการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค นครโฮจิมินห์เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจการค้าอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ส่วนกลาง (Central Subcorridor) หรือ เส้นทาง R1 ซึ่งเริ่มต้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เข้าสู่ประเทศเวียดนามที่จังหวัดเต็ยนิญ เข้าสู่นครโฮจิมินห์และสิ้นสุดที่จังหวัดบะเสี่ยะ – หวุงเต่าของประเทศเวียดนาม โดยด่านชายแดนนานาชาติที่สำคัญระหว่างประเทศเวียดนามและกัมพูชา ได้แก่ ด่านชายแดนนานาชาติหม็อบบ่าย จังหวัดเต็ยนิญ (Moc Bai International Border Gate) ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางนครโฮจิมินห์ประมาณ 63 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.5 ชั่วโมง

นครโฮจิมินห์มีระบบคมนาคมขนส่งทางบกค่อนข้างดี มีระบบขนส่งทางบกเชื่อมโยงไปยังจังหวัดต่างๆ ได้แก่ QL1A, QL10, QL13, QL15, QL22, QL50, QL52, QL21B, QL23, QL32, ถนนทางด่วน CT1 นครโฮจิมินห์และจังหวัดต่าง ๆ ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

รูปที่ 2 ถนนหลวงในนครโฮจิมินห์

ที่มา: Google Map (2563)

ด้านระบบรถไฟมีรถไฟสายเหนือ-ใต้ หรือเส้นทางกรุงฮานอย – นครโฮจิมินห์เพียงเส้นทางเดียว ส่วนการเดินทางทางบกจากนครโฮจิมินห์ไปยังจังหวัดอื่นสามารถเดินทางผ่านรถโดยสารของบริษัทต่าง ๆ เช่น Phuong Trang, Thanh Buoi เป็นต้น

การเดินทางภายในนครโฮจิมินห์ยังสามารถใช้ระบบขนส่งรถโดยสารประจำทางที่มีมากกว่า 120 เส้นทางเพื่อเดินทางภายในนครโฮจิมินห์และจังหวัดโดยรอบ และมีเรือโดยประจำทางซึ่งเริ่มที่ท่าเรือบัดดั่ง เขต 1 (Bach Dang Pier, District 1) และสิ้นสุดที่เขตถูดึ๊ก อย่างไรก็ตาม เรือโดยสารประจำทางยังขาดการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

นอกจากนี้นครโฮจิมินห์กำลังดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งหมด 6 เส้นทางครอบคลุมนครโฮจิมินห์โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเมืองบริวารทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าหมายเลข 1 เบ๊นถั่น – ซุ้ยเตียน (No. 1 Sai Gon Route: Ben Thanh – Soui Tien) มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2565 และรถไฟฟ้าหมายเลข 2 กู๋จี – ถูเทียม (No.2 Ba Queo Route: Cu Chi – Thu Thiem) คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2569 ส่วนเส้นทางเดินรถไฟฟ้าอื่น ๆ ได้แก่ เส้นทางหมายเลข 3A, 3B, 4, 4B, 5 และ 6 ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาแผนการก่อสร้าง

รูปที่ 3 เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าของนครโฮจิมินห์

ที่มา: Wikepedia Creative Commons (2563)

ด้านเขตเศรษฐกิจและนิคมอุตสาหกรรม นครโฮจิมินห์เป็นเมืองแรกของเวียดนามที่มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศเวียดนาม โดยปัจจุบันมีเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยี 2 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่

  1. เมืองอุตสาหกรรมซอฟแวร์กวางจุง (Quang Trung Software City) เป็นเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจรแห่งแรกของประเทศเวียดนามก่อตั้งเมื่อปี 2544 ที่เขต 12 นครโฮจิมินห์ มีพื้นที่ 43 เฮกตาร์ ภายในเมืองอุตสาหกรรมซอฟแวร์ประกอบไปด้วยพื้นที่ผลิตซอฟแวร์ การศึกษา ที่อยู่อาศัย พักผ่อนหย่อนใจ และการสาธารณสุข นอกจากนี้ยังมีระบบการจัดการและช่วยเหลือผู้ประกอบการตั้งแต่ด้านกฎหมาย จัดหาแรงงาน และศูนย์วิจัยพัฒนาร่วม ปัจจุบันมีอัตราการเช่าพื้นที่ร้อยละ 90 มีผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศลงทุนหลายราย เช่น ADMS, Swiss Post Solutions, Concentrix, Apollo Technology Solution เป็นต้น
  2. เขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงนครโฮจิมินห์ (Saigon Hi-Tech Park) เป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมระดับชาติที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลกลางเวียดนามเมื่อปี 2545 มีพื้นที่ทั้งหมด 913 เฮกตาร์ โดยจัดสรรเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงครบวงจรตั้งแต่วิจัยพัฒนา ฝึกอบรม จนถึงการผลิตเพื่อการค้า โดยส่งเสริมการลงทุนใน 4 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่

1) ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

2) วิศวกรรมความเที่ยงตรงและอัตโนมัติ

3) เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการประยุกต์ใช้ในเวชภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม

4) วัสดุใหม่ พลังงานใหม่ และเทคโนโลยีนาโน

จากข้อมูลถึงเดือนเมษายน ปี 2562 มีมูลค่าการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมกว่า 7,136 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากทั้งเครือบริษัทเวียดนามและต่างประเทศ เช่น บริษัท Intel (สหรัฐอเมริกา), Samsung (เกาหลีใต้), Sonion (เดนมาร์ค), Datalogic (อิตาลี), Nidec (ญี่ปุ่น), Sanofi (ฝรั่งเศส) และบริษัทใหญ่ด้านเทคโนโลยีของประเทศเวียดนาม FPT Software และนอกจากนี้ยังมีพื้นทีสำหรับสถานศึกษาและวิจัยพัฒนา เช่น ศูนย์นวัตกรรม, มหาวิทยาลัย FPT, มหาวิทยาลัย Fulbright (สัญชาติสหรัฐอเมริกา), มหาวิทยาลัย Hutech มหาวิทยาลัย NTT และมหาวิทยาลัย RMIT (สัญชาติออสเตรเลีย) อีกด้วย ปัจจุบันเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงกำลังลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมเพื่อดึงดูดการลงทุนในโครงการ “Saigon Silicon Valley”

(อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: http://www.saigonsiliconcity.com.vn/ebrochure)

นิคมอุตสาหกรรมของนครโฮจิมินห์ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในอำเภอกู๋จีและอำเภอบิ่ญจั๊ญ เนื่องจากเป็นพื้นที่เมืองใหม่ที่สามารถจัดสรรพื้นที่สะดวกกว่า ปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมส่งออกรวม 18 แห่ง ได้แก่

ด้านเขตเศรษฐกิจและนิคมอุตสาหกรรม นครโฮจิมินห์เป็นเมืองแรกของเวียดนามที่มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศเวียดนาม โดยปัจจุบันมีเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยี 2 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่

  1. 1. เมืองอุตสาหกรรมซอฟแวร์กวางจุง (Quang Trung Software City) เป็นเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจรแห่งแรกของประเทศเวียดนามก่อตั้งเมื่อปี 2544 ที่เขต 12 นครโฮจิมินห์ มีพื้นที่ 43 เฮกตาร์ ภายในเมืองอุตสาหกรรมซอฟแวร์ประกอบไปด้วยพื้นที่ผลิตซอฟแวร์ การศึกษา ที่อยู่อาศัย พักผ่อนหย่อนใจ และการสาธารณสุข นอกจากนี้ยังมีระบบการจัดการและช่วยเหลือผู้ประกอบการตั้งแต่ด้านกฎหมาย จัดหาแรงงาน และศูนย์วิจัยพัฒนาร่วม ปัจจุบันมีอัตราการเช่าพื้นที่ร้อยละ 90 มีผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศลงทุนหลายราย เช่น ADMS, Swiss Post Solutions, Concentrix, Apollo Technology Solution เป็นต้น
  2. 2. เขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงนครโฮจิมินห์ (Saigon Hi-Tech Park) เป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมระดับชาติที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลกลางเวียดนามเมื่อปี 2545 มีพื้นที่ทั้งหมด 913 เฮกตาร์ โดยจัดสรรเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงครบวงจรตั้งแต่วิจัยพัฒนา ฝึกอบรม จนถึงการผลิตเพื่อการค้า โดยส่งเสริมการลงทุนใน 4 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่

1) ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

2) วิศวกรรมความเที่ยงตรงและอัตโนมัติ

3) เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการประยุกต์ใช้ในเวชภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม

4) วัสดุใหม่ พลังงานใหม่ และเทคโนโลยีนาโน

เขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงนครโฮจิมินห์มีการลงทุนจากทั้งเครือบริษัทเวียดนามและต่างประเทศ เช่น บริษัท Intel (สหรัฐอเมริกา), Samsung (เกาหลีใต้), Sonion (เดนมาร์ค), Datalogic (อิตาลี), Nidec (ญี่ปุ่น), Sanofi (ฝรั่งเศส) และบริษัทใหญ่ด้านเทคโนโลยีของประเทศเวียดนาม FPT Software และนอกจากนี้ยังมีพื้นทีสำหรับสถานศึกษาและวิจัยพัฒนา เช่น ศูนย์นวัตกรรม, มหาวิทยาลัย FPT, มหาวิทยาลัย Fulbright (สัญชาติสหรัฐอเมริกา), มหาวิทยาลัย Hutech มหาวิทยาลัย NTT และมหาวิทยาลัย RMIT (สัญชาติออสเตรเลีย) อีกด้วย ปัจจุบันเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงกำลังลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมเพื่อดึงดูดการลงทุนในโครงการ “Saigon Silicon Valley”

(อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: http://www.saigonsiliconcity.com.vn/ebrochure)

นิคมอุตสาหกรรมของนครโฮจิมินห์ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในอำเภอกู๋จีและอำเภอบิ่ญจั๊ญ เนื่องจากเป็นพื้นที่เมืองใหม่ที่สามารถจัดสรรพื้นที่สะดวกกว่า ปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมส่งออกรวม 18 แห่ง ได้แก่

ที่ นิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมส่งออก พื้นที่

(ha)

พื้นที่พร้อมให้เช่าตามข้อมูลปี 2019

(ha)

สถานที่ตั้ง/เว็บไซต์
1 นิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกเตินถ่วน

(Tan Thuan Export Processing Zone)

300 13 เขต 7

Website: http://ttc-vn.com

2 นิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกลิญจุง 1

(Linh Trung 1 Export Processing Zone)

62 0 เขตถูดึ๊ก

Website: www.linhtrungepz.com

3 นิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกลิญจุง 2

(Linh Trung 2 Export Processing Zone)

61.7 0 เขตถูดึ๊ก

Website: www.linhtrungepz.com

4 นิคมอุตสาหกรรมเตินต่าว

(Tan Tao Industrial Park)

380.15 0 เขตบิ่ญเติน

Website: www.itaexpress.com.vn

5 นิคมอุตสาหกรรมเตินบิ่ญ

(Tan Binh Industrial Park)

128.7 0 เขตเตินฟู้

Website: www.tanimex.com.vn

6 นิคมอุตสาหกรรมเลมิญซวน

(Le Minh Xuan Industrial Park)

100 0 อำเภอบิ่ญจั๊ญ

Website: bcci.com.vn

7 นิคมอุตสาหกรรมหวิญหล็อก

(Vinh Loc Industrial Park)

203 0 เขตบิ่ญเติน

Website: www.kcnvinhloc.vn

8 นิคมอุตสาหกรรมเตินเท้ยเหียบ

(Tan Thoi Hiep Industrial Park)

28 0 เขต 12

Email: [email protected]

9 นิคมอุตสาหกรรมเต็ยบั๊กกู๋จี

(Tay Bac Cu Chi Industrial Park)

208 0 อำเภอกู๋จี

Website: www.cidico.com.vn

10 นิคมอุตสาหกรรมบิ่ญจิ๋ว

(Binh Chieu Industrial Park)

27.34 0 อำเภอถูดึ๊ก

Email: [email protected]

11 นิคมอุตสาหกรรมเหียบเฟื้อก ส่วนที่ 1

(Hiep Phuoc Industrial Park – phase 1)

311.4 0 อำเภอหญ่าแบ่

Website: http://hiepphuoc.vn

12 นิคมอุตสาหกรรมเหียบเฟื้อก ส่วนที่ 2

(Hiep Phuoc Industrial Park – phase 2)

597 195.35 อำเภอหญ่าแบ่

Website: http://hiepphuoc.vn

13 นิคมอุตสาหกรรมก๊าตล้าย 2

(Cat Lai 2 Industrial Park)

124 0 เขต 2

Website: www.dvciq2.com.vn

14 นิคมอุตสาหกรรมอานหะ

(An Ha Industrial Park)

123.51 19.06 อำเภอบิ่นจั๊ญ

Website: www.anha.vn

15 นิคมอุตสาหกรรมเตินฟู้จุม

(Tan Phu Trung Industrial Park)

542.64 50 อำเภอกู๋จี

Website: www.tanphutrung-ip.com

16 นิคมอุตสาหกรรมดงนาม

(Dong Nam Industrial Park)

286,76 15 อำเภอกู๋จี

Website: www.saigonvrg.com.vn

17 นิคมอุตสาหกรรมรถยนต์

(Ho Chi Minh City’s Automotive- Mechanical Industrial Park)

99 10 อำเภอกู๋จี

Website: http://hoaphu.vn

18 นิคมอุตสาหกรรมเลมิญซวน 3

(Le Minh Xuan 3 Industrial Park)

155,75 40 อำเภอบิ่นจั๊ญ

Website: www.saigonvrg.com.vn

รูปที่ 4 นครโฮจิมินห์

ที่มา: Wikipedia Creative commons

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และโอกาสในการลงทุนทำธุรกิจ 

2.1 สถานการณ์เศรษฐกิจ

ปี 2564 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของนครโฮจิมินห์ (GDP) คิดเป็นมูลค่า 1,298,791 พันล้านด่ง (55.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.7 แบ่งออกเป็นภาคการเกษตรร้อยละ 0.6  อุตสาหกรรมและก่อสร้างร้อยละ 22.4 และภาคบริการร้อยละ 63.4 (ภาษีสินค้าร้อยละ 13.6)

ด้านการเกษตร ประมงและป่าไม้ ปี 2564 ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 13.6 โดยนครโฮจิมินห์มีพื้นที่ปลูกข้าวและพืชไร่รวม 35,696 เฮกตาร์ ได้ผลผลิตข้าว 83,706 ตัน ผักชนิดต่าง ๆ 239,186 ตัน และกล้วยไม้ 42,010 กิ่ง ส่วนไม้ยืนต้น นครโฮจิมินห์มีการเพาะปลูกผลไม้และไม้อุตสาหกรรมบ้างแต่มีจำนวนไม่มากนัก นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปไม้ 7,100 ลูกบาศก์เมตร

นครโฮจิมินห์มีอุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเวียดนาม โดยในปี 2564 มีจำนวนโคนม 75,999 ตัว โคเนื้อ 36,525 ตัว กระบือ 4,555 ตัว สุกร 161,683 ตัว สัตว์ปีก 0.35 ล้านตัว และนกนางแอ่น ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวรังนกได้ 12,950 ตันมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศเวียดนาม ส่วนในด้านการประมงได้ผลผลิต 52,781 ตันแบ่งออกเป็นผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง 37,992 ตันและจากการประมงอีก 14,788 ตัน

ด้านอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ในปี 2564 ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 12.9 โดยภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของนครโฮจิมินห์ ได้แก่ ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้า เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ ยางพาราและพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟแวร์ และรถยนต์ ส่วนด้านการก่อสร้าง การลงทุนภาครัฐมีการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมเป็นส่วนใหญ่

ด้านบริการและการค้า ในปี 2564 ลดลงร้อยละ 5.5 เป็นภาคส่วนที่มีมูลค่ามากที่สุดของนครโฮจิมินห์ นครโฮจิมินห์มีการพัฒนาบริการด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้า บริการที่พักและอาหาร ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ การเงินและการประกัน อสังหาริมทรัพย์ การศึกษา และการแพทย์

การค้าปลีกเป็นภาคส่วนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากภาคการผลิตและแปรรูปเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 15.3 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของนครโฮจิมินห์ หรือเป็นรองเพียงมูลค่าอุตสาหกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปี 2564 มูลค่าค้าปลีกลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้ นครโฮจิมินห์มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกจำนวนมาก จำหน่ายสินค้าหลากหลายทั้งแง่คุณภาพและรูปแบบสินค้า ทั้งนี้บริการค้าปลีก คลังสินค้าและโลจิสติกส์ การเงินและการประกัน อสังหาริมทรัพย์ บริการอาหารและเครื่องดื่ม ข้อมูลและสื่อประชาสัมพันธ์ การศึกษา และการแพทย์

ในด้านการท่องเที่ยว ปี 2564 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวที่นครโฮจิมินห์ 15 ล้านคนทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ มีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 63,200 พันล้านด่ง (2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยแหล่งท่องเที่ยวของนครโฮจิมินห์เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเพื่อร่วมงานนิทรรศการและแสดงสินค้า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เช่น โบสถ์นอร์ทเทอดาม ไปรษณีย์กลางนครโฮจิมินห์ สภาอิสระภาพ (Independence Palace) พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ตลาดเบ้นถั่น ย่านเจอะเลิ้น เป็นต้น นอกจากนี้ นครโฮจิมินห์ส่วนหนึ่งของเส้นทางท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น นครโฮจิมินห์ – เมืองดาลัท – มุยเน่ หรือ นครโฮจิมินห์ – บะเสี่ยะ หวุงเต่า เป็นต้น

2.2 การค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ปี 2564 นครโฮจิมินห์ มีมูลค่านำเข้าสินค้าและมูลค่าส่งออกสินค้าคิดเป็น 60,219 และ 44,881 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

มูลค่าลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสะสมจนถึงปี 2564 รวมทั้งหมด 10,434 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 49,470.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากที่สุดในประเทศเวียดนาม โดยมีโครงการลงทุนใหม่ 633 โครงการ มูลค่า 686.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธุรกิจไทยเริ่มมีการลงทุนในนครโฮจิมินห์ตั้งแต่ปี 2532 ปัจจุบันประเทศไทยมีการลงทุนในนครโฮจิมินห์กว่า 250 โครงการในหลายอุตสาหกรรมตั้งแต่ผลิตและแปรรูปสินค้า การเกษตร อาหารเครื่องดื่ม และธุรกิจบริการต่าง ๆ โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทไทยชั้นนำ  เช่น เครือบริษัท SCG, เครือบริษัท C.P., เครือบริษัท เซ็นทรัล รีเทล, เครือบริษัท BJC, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, กันตนากรุ๊ป, สายการบินต่าง ๆ ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยเวียดเจ็ด บางกอกแอร์ เป็นต้น

2.3 อุตสาหกรรมที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการลงทุน

  • อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษา วิทยาศาสตร์ และการแพทย์
  • อุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
  • โครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเมือง

แหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ควรทราบ

  1. เว็บไซต์ของรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดนครโฮจิมินห์: http://www.hochiminhcity.gov.vn/
  2. รายชื่อโครงการรอการลงทุน http://www.dpi.hochiminhcity.gov.vn/TinTuc/dautubotbtbtoppp/Pages/default.aspx
  3. เว็บไซต์ส่งเสริมการลงทุน การค้าและการท่องเที่ยวนครโฮจิมินห์ http://www.dpi.hochiminhcity.gov.vn/Pages/default.aspx
  4. เว็บไซต์คณะกรรมการบริหารนิคมอุตสาหกรรมนครโฮจิมินห์: http://www.hepza.hochiminhcity.gov.vn/web/guest/home
  5. เว็บไซต์การท่าเรือของนครโฮจิมินห์: http://www.csg.com.vn
  6. เว็บไซต์กรมการท่องเที่ยวนครโฮจิมินห์: http://sodulich.hochiminhcity.gov.vn/

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กรมส่งเสริมการลงทุน (2563), ฐานข้อมูลการลงทุนเวียดนาม (นครโฮจิมินห์), สืบค้นจาก http://ipc.mpi.gov.vn/mien-bac/thong-tin-dia-phuong

สภาประชาชนจังหวัดนครโฮจิมินห์ (2565), ข้อมูลสถิติพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนครโฮจิมินห์ ประจำปี 2564

Cục sở hữu trí tuệ (2565), Danh sách các chỉ đẫn địa lý đã được bảo hộ tại Việt Nam (Cập nhật đến tháng 6 năm 2022), retrieved from https://ipvietnam.gov.vn/chi-dan-dia-ly

Chính phủ Việt Nam (2565), Nghị định 38/2022/NĐ-CP về việc Quy định mức lương tối thiểu đối với người lao động làm việc theo hợp đồng lao động.

กรมศุลกากรเวียดนาม (2565), รายงานการนำเข้าส่งออกจำแนกตามจังหวัด ปี 2021

Viện Khoa học tổ chức nhà nước (2562), TP.Hồ Chí Minh đề xuất thành lập 4 thành phố vệ tinh, retrieved from http://isos.gov.vn/Thongtinchitiet/tabid/84/ArticleId/653/language/vi-VN/TP-H-Chi-Minh-d-xu-t-thanh-l-p-4-thanh-ph-v-tinh.aspx

Tuoi Tre Online (2563), Thành phố Thủ Đức: phía Đông có gì lạ?, retrieved from https://tuoitre.vn/thanh-pho-thu-duc-phia-dong-co-gi-la-2020082518513663.htm

Tạp chí Nghiên cứu lập pháp (2563), Thực hiện Nghị quyết số 54/2017/QH14 và vấn đề tiếp tục pháp lý hóa các cơ chế, chính sách đặc thù cho thành phố Hồ Chí Minh, retrieved from http://www.lapphap.vn/Pages/tintuc/tinchitiet.aspx?tintucid=210393

Quang Trung Software City (2563), Tại sao chọn QTSC, retrieved from https://www.qtsc.com.vn/tai-sao-chon-qtsc

Ban Quản lý Khu công nghệ cao TPHCM (2562), Tổng quan về Khu Công nghệ cao Thành phố Hồ Chí Minh, retrieved from http://www.shtp.hochiminhcity.gov.vn/gioithieu/Pages/tongquanshtp.aspx

Sai Gon Silicon City (2563), Giới thiệu về công viên công nghệ cao, retrieved from  http://www.saigonsiliconcity.com.vn/vi-VN/cong–vien-cong-nghe-cao-sai-gon

Ủy ban Nhân dân TP HCM (2563), Đến năm 2030: TPHCM phấn đấu trở thành đô thị thông minh, retrieved from http://www.hochiminhcity.gov.vn/thongtinthanhpho/quyhoachvaphattrien/Lists/Posts/Post.aspx?CategoryId=16&ItemID=6710&PublishedDate=2020-07-14T09:35:00Z

Cảng Vụ Hàng hải Thành Phố Hồ Chí Minh (2563), Thông tin cảng biển TP.HCM, retrieved from http://cangvuhanghaitphcm.gov.vn/index.aspx?page=news&cat=14

Báo Lao Động (2563), Infographic: Tuyến metro đầu tiên của Sài Gòn đang băng băng về đích, retrieved from https://laodong.vn/infographic/infographic-tuyen-metro-dau-tien-cua-sai-gon-dang-bang-bang-ve-dich-814333.ldo

Ban Quản lý Đường Sắt Đô thị TP.HCM (2563), Quy hoạch Đường sắt Đô thị, retrieved from http://maur.hochiminhcity.gov.vn/web/bqlds/quy-hoach-duong-sat-do-thi

Trung tâm Quản lý giao thông công cộng Thành phố Hồ Chí Minh (2563), các tuyến xe buýt TP.HCM, retrieved from http://buyttphcm.com.vn/Route

Pháp Luật (2565), Cuối năm 2022, TP.HCM chạy thử metro số 1, Retrieved from https://plo.vn/cuoi-nam-2022-tphcm-chay-thu-metro-so-1-post698112.html

VOV5 (2565), HCMC aims to become an international financial hub, Retrieved from https://vovworld.vn/en-US/economy/hcmc-aims-to-become-an-international-financial-hub-1079963.vov

Caproasia (2565), The 2022 Global Financial Centres Index – Full Ranking, Retrieved from https://www.caproasia.com/2022/03/26/full-ranking/

Vn Economy (2565), Quy mô kinh tế số TP.HCM năm 2021 đạt gần 8,3 tỷ USD, Retrieved from https://vneconomy.vn/quy-mo-kinh-te-so-tp-hcm-nam-2021-dat-gan-8-3-ty-usd.htm

Vietnam Insiders (2565), Which province, city has the largest contribution to GDP in Vietnam?, Retrieved from https://vietnaminsider.vn/which-province-city-has-the-largest-contribution-to-gdp-in-vietnam

THAIBIZ VIETNAM

THAILAND BUSINESS INFORMATION CENTER

ยอดผู้เข้าชม

133

กำลังเข้าชมขณะนี้

328527

เข้าชมทั้งหมด