กฎหมายแรงงาน (ฉบับแก้ไขปี 2562)

POST ON 30 กันยายน 2020

กฎหมายแรงงาน (ฉบับแก้ไขปี 2562)

1. กฎหมายแรงงานเวียดนามฉบับใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

          กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ได้รับการแก้ไขและสภาแห่งชาติเวียดนามอนุมัติเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2562 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2563 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • ยกเลิกการใช้สัญญาจ้างตามฤดูกาล
  • ยกเลิกการทดลองงานสำหรับการจ้างงานน้อยกว่า 1 เดือน
  • แรงงานไม่ต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเมื่อเปิดบัญชีรับเงินเดือนที่ธนาคาร
  • แรงงงานสามารถยกเลิกสัญญาจ้างงานเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า ในกรณี 1) ไม่ได้รับการจัดสรรให้ทำงานตามหน้าที่ /สถานที่ทำงาน หรือไม่ได้รับเงื่อนไขในการทำงานตามที่ได้ตกลง, ไม่ได้รับการค่าแรงหรือเงินเดือนครบจำนวน หรือได้รับการจ่ายเงินไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน
  • ปัจจุบันอายุเกษียณการทำงานของแรงงานชาย คือ 60 ปี และแรงงานหญิง 55 ปี อย่างไรก็ตาม กฎหมายใหม่จะปรับอายุเกษียณการทำงานของแรงงานปกติเป็นลำดับขั้น โดยแรงงานชายจะมีการปรับให้เกษียณการทำงานเมื่อมีอายุ 62 ปี ภายในปี 2571 และแรงงานหญิงเป็น 60 ปี ภายในปี 2578
  • ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป แรงงานจะมีวันหยุดเทศกาลเนื่องในวันชาติเวียดนามเป็นระยะเวลา 2 วัน

2. ข้อกำหนดที่สำคัญของกฎหมายแรงงานฉบับใหม่

2.1 ประกันสังคม ประกันสุขภาพ และประกันการว่างงาน

          กฎหมายเวียดนามให้ความคุ้มครองแรงงานเวียดนามและแรงงานชาวต่างชาติ โดยกำหนดให้ผู้ว่าจ้างและแรงงานมีหน้าที่จ่ายค่าประกันสังคม โดยทั่วไปการจ้างแรงงานชาวเวียดนาม ผู้ว่าจ้างและลูกจ้างจะต้องจ่ายค่าประกันสังคมรวมร้อยละ 32 จากค่าจ้าง/เงินเดือนซึ่งมากกว่าจ้างแรงงานชาวต่างต่างชาติซึ่งต้องชำระรวมร้อยละ 8 จากค่าจ้าง/เงินเดือนสามารถแจกแจงรายละเอียด ดังนี้

แรงงานชาวเวียดนาม

ผู้จ้างแรงงาน

แรงงานชาวเวียดนาม

ประกันสังคม

อุบัติเหตุจากการทำงาน/เจ็บป่วยจากการทำงาน

ประกันการว่างงาน

 

ประกันสุขภาพ

ประกันสังคม

อุบัติเหตุจากการทำงาน/เจ็บป่วยจากการทำงาน

ประกันการว่างงาน

 

ประกันสุขภาพ

กองทุนเพื่อการเกษียณ

เจ็บป่วย/ลาคลอดบุตร

กองทุนเพื่อการเกษียณ

กองทุนเพื่อการเกษียณ

14%

3%

0.5%

1%

3%

8%

0%

0%

1%

1.5%

21.5%

10.5%

รวม 32% จากค่าจ้าง/เงินเดือน

แรงงานชาวต่างชาติ

ผู้จ้างแรงงาน

แรงงานชาวเวียดนาม

ประกันสังคม

อุบัติเหตุจากการทำงาน/เจ็บป่วยจากการทำงาน

ประกันการว่างงาน

 

ประกันสุขภาพ

ประกันสังคม

อุบัติเหตุจากการทำงาน/เจ็บป่วยจากการทำงาน

ประกันการว่างงาน

 

ประกันสุขภาพ

กองทุนเพื่อการเกษียณ

เจ็บป่วย/ลาคลอดบุตร

กองทุนเพื่อการเกษียณ

กองทุนเพื่อการเกษียณ

0%

3%

0.5%

0%

3%

0%

0%

0%

0%

1.5%

6.5%

1.5%

รวม 8% จากค่าจ้าง/เงินเดือน

ทั้งนี้ การอัตราค่าประกันสังคมบังคับคำนวนจากเงินเดือนพื้นฐานของแรงงาน ได้แก่ เงินเดือนและเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยที่ค่าประกันสังคมแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าค่าประกันสังคมที่คิดจากค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละพื้นที่ในงวดชำระนั้น ๆ หรือตามตำแหน่งงานของแรงงานทั่วไป

พื้นที่อัตราค่าแรงงานพื้นฐาน (เวียดนามด่ง/เดือน)
พื้นที่ 14,180,000 VND/เดือน
พื้นที่ 23,710,000 VND/เดือน
พื้นที่ 33,250,000 VND/เดือน
พื้นที่ 42,920,000 VND/เดือน

นอกจากประกันสังคม ประกันสุขภาพ และประกันการว่างงานแล้ว ธุรกิจที่มีการจ้างแรงงานมากกว่า 10 คน ต้องชำระค่าสหภาพแรงงานให้กับเขตหรืออำเภอที่ทำการ ด้วยอัตราร้อยละ 2 โดยคิดจากกองทุนเงินเดือนที่เป็นฐานในการคิดประกันสังคมด้วย

2.2 วันลาหยุด/วันหยุดเทศกาล

          แรงงานสามารถลาหยุดได้ 12 วัน โดยจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการทำงาน ทุก ๆ 5 ปี แรงงานสามารถหยุดเพิ่มได้ 1 วัน และกำหนดให้มีวันหยุดเทศกาลอีก 10 วัน โดยปีตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป แรงงานจะมีวันหยุดเทศกาลเพิ่มขึ้นอีก 1 วันเนื่องในโอกาสวันชาติเวียดนาม รวมเป็นวันหยุดเทศกาลทั้งหมด 11 วัน

2.3 เงินทดแทนเมื่อเลิกจ้าง

          เมื่อมีการยกเลิกสัญญาจ้างงาน นอกเหนือจากการยกเลิกจ้างเมื่อครบอายุเกษียณการทำงาน ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายชำระเงินทดแทนเมื่อเลิกจ้างให้กับแรงงานที่ทำงานมามากกว่า 12 เดือนขึ้นไป โดยเมื่อปีอายุงานที่เพิ่มขึ้น 1 ปี เงินทนแทนเมื่อเลิกจ้างก็จะเพิ่มขึ้น 0.5 เดือน ทั้งนี้ระยะเวลาที่นำมาคิดเงินทดแทน คือ ระยะเวลาทั้งหมดที่แรงงานทำงานให้กับผู้ว่าจ้างแรงงาน โดยไม่รวมระยะเวลาที่แรงงานได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนว่างงานตามกฎหมาย และระยะเวลาที่ได้รับการชำระเงินชดเชยจากการเลิกจ้าง

          เงินค่าตอบแทนที่นำมาคิดเงินชดเชย คือ เงินค่าตอบแทนเฉลี่ยในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาตามสัญญาจ้างแรงงานก่อนที่แรงงานจะถูกเลิกจ้าง

          เงินค่าตอบแทนเมื่อเลิกจ้างจะต้องได้รับการชำระภายใน 14 วันหลังจากสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน นอกจากนี้ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่สรุปรายงานระยะเวลาที่ชำระเงินประกันสังคม ประกันการว่างงาน และส่งคืนเอกสารต้นฉบับการชำระเงินประกันสังคมต่าง ๆ ให้กับแรงงาน กรณีที่ผู้ว่าจ้างเป็นผู้เก็บเอกสาร และนอกจากนี้ยังมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารสำเนาที่เกี่ยวกับการทำงานของแรงงาน หากได้รับคำร้องจากแรงงาน

ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง



ดูบทความทั้งหมด

THAIBIZ VIETNAM

THAILAND BUSINESS INFORMATION CENTER

ยอดผู้เข้าชม

1

กำลังเข้าชมขณะนี้

184629

เข้าชมทั้งหมด